ประวัติความเป็นมา

ที่มา : พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพยายามปกปักยางนา

        พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จแปรพระราชฐาน ไปประทับแรม ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อเสด็จผ่านอำเภอท่ายาง จ.เพชรบุรี สองข้างทาง มีต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก มีพระราชดำริจะสงวนป่าต้นยางนี้ไว้เป็นสวนสาธารณะ แต่ไม่สามารถจัดถวายตามพระราชประสงค์ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก

        พ.ศ.2504 ป่าสาธิตทดลอง เมื่อไม่สามารถดำเนินการได้ จีงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง โดยทรงเพาะเมล็ดที่เก็บจาก ต้นยางนาและปลูกไว้ในแปลงทดลองป่าสาธิตใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา ซึ่งแม้ต้นยางที่ท่ายางจะสูญสิ้นแต่พันธุกรรมของต้นยางนาเหล่านั้นยังคงอนุรักษ์ไว้ได้ ที่สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากทั่วประเทศมาปลูก ในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้

        พ.ศ.2528 ทรงให้ใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช ในวันที่ 9 พ.ค. พ.ศ.2528 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคาร ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วนพระองค์ฯที่สวนจิตรลดามีการพัฒนา เทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืชเอกลักษณ์ในสภาวะปลอดเชื้อในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ในอนาคต

        พ.ศ.2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย มีพระราชดำริให้อนุรักษ์และชยายพันธุ์หวายชนิดต่างๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวาย ในอนาคตเมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวาย ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาติให้ทำการทดลองปลูกต้นหวาย เหล่านั้นในป่ายางนาใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา

        พ.ศ.2529 สวนพืชสมุนไพร ในปี พ.ศ.2529นอกจากมีพระราชดำริ ให้มีการอนุรักษ์พันธุกรรมหวายแล้ว ยังได้ให้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้น ในโครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา เพื่อรวบรวมสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิต และรวบรวมข้อมูล สรรพคุณ ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ กับทั้งให้มี การศึกษาขยายพันธ์สมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเผยแพร่ ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

        พ.ศ.2531 ทรงให้พัฒนาพันธุ์ ผักโดยการผสมสองชั้น เมิ่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2531 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแส กับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญสิริ จักรพันธ์ ให้ดำเนินการผสมพันธุ์ผักสองชั้น พร้อมกันไปทั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อของโครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา

        พ.ศ.2536 จัดตั้งธนาคารพรรณพืช เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดาให้ดำเนินการอนุรักษ์พรรณพืชของประเทศ โดยพระราชทานให้โครงการส่วนพระองค์ฯสวนจิตรลดา ฝ่ายวิชาการ สำนักพระราชวัง เป็นผู้ดำเนินการ สำหรับงบประมาณดำเนินการนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี โดยการจัดสร้างธนาคารพรรณพืชใน พ.ศ.2536 สำหรับการเก็บรักษาพันธุกรรมพืช ที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ

วัตถุประสงค์ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

        1.ให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช

        2.ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย

         3.ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืช สื่อกันได้ทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรัพยากร

        การดำเนินงานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรทราชกุมารีทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “การสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พรรณพืชนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์ต่อไป การใช้วิธีการสอนอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียกับไทยในระยะยาว” โครงการอนุรักษ์พรรณพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้ดำเนินงานสนองพระราชดำริ จัดตั้งงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเพื่อเป็นสื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยให้เยาวชนใกล้ชิดกับพืชพรรณ เห็นคุณค่า ประโยชน์ ความสวยงาม อันจะก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พรรณพืชต่อไป เกิดความรักความหวงแหน และรู้จักการนำไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริและแนวปฏิบัติให้เป็นงานหนึ่งในกิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช และชัดเจนในคำจำกัดความของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ซึ่งจะดำเนินการในพื้นที่โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษา โดยใช้แนวทางการดำเนินงานตามแบบอย่างสวนพฤกษศาสตร์ แต่ย่อขนาดมาดำเนินการในพื้นที่เล็กๆ

        โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ จึงได้จัดการประชุมเพื่อเผยแพร่พระราชดำริและแนวทางการดำเนินงาน สวนพฤษศาสตร์โรงเรียน ให้กับโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา การประถมศึกษาแห่งชาติและการศึกษาเอกชน ซึ่งปัจจุบันสังกัดในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ สพฐ. โดยให้โรงเรียนที่สนใจ สมัครใจที่จะร่วมสนองพระราชดำริ

วิธีการดำเนินงาน

ลำดับการเรียนรู้

        1.กำหนดพื้นที่ศึกษา

        2.สำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ศึกษา

         3.ทำแล้วติดป้ายรหัสประจำต้น

        4.ตั้งชื่อหรือสอบถามชื่อ และศึกษาข้อมูลพื้นบ้าน

        5.ทำผังแสดงตำแหน่งพรรณไม้

         6.ศึกษาและบันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์

        7.บันทึกภาพหรือวาดภาพทางพฤกษศาสตร์

        8.ทำตัวอย่างพรรณไม้

         9.เปรียบเทียบข้อมูลที่สรุปกับข้อมูลที่สืบค้นจากเอกสารและบันทึ

        10.จัดข้อมูลระบบทะเบียนพรรณไม้

         11.ทำร่างป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์

        12.ตรวจสอบความถูกต้องทางด้านวิชาการ ด้านพฤกษศาสตร์

        13.ทำป้ายชื่อพรรณไม้สมบูรณ์